จิตอาสา หรือ มีจิตสาธารณะ”
ยังหมายรวมถึง จิตของคนที่รู้จักความเสียสละ ความร่วมมือ
ร่วมใจ ในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม
จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต
เพื่อเป็นหลักการในการดำเนินชีวิต
ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม เช่น
การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ให้ความช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ร่วมมือกระทำเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา หรือช่วยกันแก้ปัญหา
แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม
ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของ จิตสำนึกทางสังคม
หรือจิตสำนึกสาธารณะว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน
หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายว่า
การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อ
ประเทศชาติ มี ความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม
ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย
ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
อ้างอิง : http://www.nitade.lpru.ac.th/2012/html/news9.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น